ข้อมูลท่องเที่ยว

สหภาพพม่า (Union of Myanmar) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีลักษณะพิเศษคือ เป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีพรมแดนทางแผ่นดินติดต่อกับสองประเทศ ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลก ได้แก่ จีน และอินเดีย แต่เดิมชาวตะวันตกเรียกประเทศนี้ว่า Burma จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2532 พม่าได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น Myanmar ชื่อใหม่นี้เป็นที่ยอมรับจากองค์การสหประชาชาติ แต่บางชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ไม่ยอมรับการเปลี่ยนชื่อนี้ เนื่องจากไม่ยอมรับรัฐบาลทหารที่เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ ปัจจุบันหลายคนใช้คำว่า Myanmarซึ่งมาจากชื่อประเทศในภาษาพม่าว่าMyanmaNaingngandawไม่ว่าจะมีความเห็นเกี่ยวกับรัฐบาลทหารอย่างไรก็ตามคำว่าเมียนมาร์เป็นการทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษว่า Myanmar แต่ความจริงแล้ว ชาวพม่าเรียกชื่อประเทศตนเองว่า มยะหม่า


เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw) (ภาษาพม่า) หรือบางครั้งสะกดเป็น เนปีตอ (Nay Pyi Taw) (มีความหมายว่า มหาราชธานี) เป็นเมืองหลวงและเมืองศูนย์กลางการบริหารของสหภาพพม่าที่ได้ย้ายมาจากย่างกุ้ง ตั้งแต่วันที่ 6พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ตั้งอยู่ในหมู่บ้านจัตปแว (Kyatpyae)ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองเปียนมานา (Pyinmana) ในเขตมัณฑะเลย์ สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาโดยรอบ เมืองนี้เป็นเมืองเดียวของประเทศพม่าที่สามารถใช้ไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งในขณะที่เมืองหลวงเก่าย่างกุ้งจะไฟฟ้าดับอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เมืองนี้อยู่ห่างย่างกุ้งไปทางเหนือประมาณ 320 กิโลเมตร ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ซึ่งทางการพม่านั้นต้องการ เมืองนี้เริ่มมีการสร้างสิ่งต่าง ๆ บ้างแล้ว เช่น อพาร์ตเม้นต์ ซึ่งคนพอมีเงินที่จะมาซื้ออยู่อาศัย เริ่มมีประชาชนอพยพมาอาศัยอยู่หลายหมื่นคน แต่เมืองหลวงแห่งนี้ ยังไม่มีโรงเรียน โรงพยาบาล เปรียบเสมือนเมืองทหาร ซึ่งกำลังก่อสร้างต่อไป


ภาษา : ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการพม่ามีภาษาหลักที่ใช้งานในประเทศถึงอีก 18 ภาษา โดยแบ่งตามตระกูลภาษาได้ดังนี้

  • ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ได้แก่ ภาษามอญ ภาษาปะหล่อง ภาษาปะลัง (ปลัง) ภาษาประรวก และภาษาว้า
  • ตระกูลภาษาซิโน-ทิเบตัน ได้แก่ ภาษาพม่า(ภาษาราชการ) ภาษากะเหรียงภาษาอารากัน(ยะไข่)ภาษาจิงผ่อ (กะฉิ่น) และภาษาอาข่า
  • ตระกูลภาษาไท-กะได ได้แก่ ภาษาฉาน (ไทใหญ่) ภาษาไทขึน ภาษาไทลื้อ และภาษาไทคำตี่
  • ตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน ได้แก่ ภาษาม้งและภาษาเย้า (เมี่ยน)
  • ตระกูลภาษาออสโตรนีเชี่ยน ได้แก่ ภาษามอเกนและภาษาสะลน


ศาสนา : ศาสนาพุทธ (พม่าบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติใน พ.ศ.2517) ร้อยละ 90 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 5 ศาสนาอิสลามร้อยละ3.8 ศาสนาฮินดูร้อยละ  0.05


สกุลเงิน : จ๊าด (Kyat : MMK)
อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 25 จ๊าดต่อ 1 บาท หรือประมาณ 1,300 จ๊าดต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ (มิถุนายน 2549)


 

 

ประวัติศาสตร์ประเทศพม่า
ประวัติศาสตร์ของพม่านั้นมีความยาวนานและซับซ้อน มีประชาชนหลายเผ่าพันธุ์เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ เผ่าพันธุ์เก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏได้แก่มอญต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 13 ชาวพม่าได้อพยพลงมาจากบริเวณพรมแดนระหว่างจีนและทิเบต เข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี และได้กลายเป็นชนเผ่าส่วนใหญ่ที่ปกครองประเทศในเวลาต่อมาความซับซ้อนของประวัติศาสตร์พม่ามิได้เกิดขึ้นจากกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนพม่าเท่านั้น แต่เกิดจากความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านอันได้แก่ จีน อินเดีย บังกลาเทศ ลาว และไทยอีกด้วย

วัฒนธรรมและประเพณีประเทศพม่า
พม่าได้รับอิทธิพลทั้งจากจีน อินเดีย และไทยมาช้านาน ดังสะท้อนให้เห็นในด้านภาษา ดนตรี และอาหาร สำหรับศิลปะของพม่านั้นได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีและพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ในปัจจุบันนี้วัฒนธรรมพม่ายังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากเขตชนบทของประเทศ  สังคมพม่านับได้ว่าเป็นสังคมที่แทบหยุกาลเวลาและหยุดความเปลี่ยนแปลงไว้ได้ในระดับหนึ่งสังคมพม่าอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่นเน้นความเป็นอยู่แบบพอมีพอกินและพึ่งพาตนเอง สิ่งที่จำเป็นมีเพียงแค่ปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ชาวพม่าเป็นชนชาติที่ยึดมั่นในขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมสั่งสมมาตั้งแต่อดีต การยึดมั่นคุณค่าของอดีตเช่นนี้ทำให้ชาวพม่ายังคงดำเนินชีวิตตามแบบที่คนโบราณเคยยึดถือโดยเฉพาะในเรื่องของจริยธรรม การนับถือศาสนาและการปฏิบัติตามประเพณีที่ได้รับการสืบทอดต่อกันมา


“ประเพณีปอยส่างลอง”

 ประเพณี ปอยส่างลอง หรือที่เรียกว่า“งานบวชลูกแก้ว”เป็นงานประเพณีประจำของชาวไต หรือไทยใหญ่ ซึ่งได้มีการจัดสืบทอดกันมายาวนาน คำว่า ปอย แปลว่า งาน ซึ่งหมายถึง งานเทศกาล งานรื่นเริง งานมงคลต่าง ๆ ส่าง แปลว่า พระ-เณร และ ลอง มาจาก คำว่า อะลอง แปลว่า กษัตริย์ ราชา เกี่ยวกับเจ้าแผ่นดิน เมื่อรวมกันก็หมายถึง งานเตรียมบวชเป็นพระเณรของเด็กที่แต่งดาเป็นกษัตริย์หรือราชานั่นเอง

   


“งานไหว้พุทธเจดีย์ประจำปี”

ซึ่งแต่ละที่มักนิยมจัดในเดือนหลังออกพรรษา  ถือเป็นงานเฉลิมฉลองที่สนุกสนานและได้ทำบุญสร้างกุสลด้วย

    


ภูมิศาสตร์ประเทศพม่า

ลักษณะภูมิประเทศ

ภาคเหนือ - เทือกเขาปัตไก เป็นพรมแดนระหว่างพม่าและอินเดีย

ภาคตะวันตก – เทือกเขาอระกันโนมากั้นเป็นแนวยาว

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - เป็นที่ราบสูงชาน

ภาคใต้ - มีทิวเขาตะนาวศรี กั้นระหว่างไทยกับพม่า

ภาคกลาง - เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี


ลักษณะภูมิอากาศ

มรสุมเมืองร้อน

ด้านหน้าภูเขาอาระกัน โยมา ฝนตกชุกมาก

ภาคกลางตอนบนแห้งแล้งมาก เพราะมีภูเขากั้นกำลับลม

ภาคกลางตอนล่างเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำขนาดใหญ่ ปลูกข้าวเจ้า ปอ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศค่อนข้างเย็น และค่อนข้างแห้งแล้ง

ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเดินทางมาท่องเที่ยวมากที่สุดคือช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ  21-28 องศาเซลเซียส


ประชากรประเทศพม่า

จำนวนประชากรประมาณ  50.51 ล้านคน ความหนาแน่นโดยเฉลี่ย  61 คน/ตร.กม. พม่ามีประชากรหลายเชื้อชาติ จึงเกิดเป็นปัญหาชนกลุ่มน้อย มีชาติพันธุ์พม่า 63 %, มอญ 5 %,  ยะไข่  5 %, กะเหรี่ยง 3.5 %, คะฉิ่น 3 %, ไทย  3 %, ชิน 1 %


เขตการปกครองประเทศพม่า

รัฐ (States)

1.รัฐชิน (Chin) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองฮะคา

2.รัฐกะฉิ่น (Kachin) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองมิตจีนา

3.รัฐกะเหรี่ยง (Kayin) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองปะอาน

4.รัฐกะยา (Kayah) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองหลอยก่อ

5.รัฐมอญ (Mon) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองมะละแหม่ง

6.รัฐยะไข่ (Rakhine) มีเมื

ความคิดเห็นจากลูกค้า
  • ประทับใจการบริการของบริษัท โกลเบิลทัวร์มากๆเลยค่ะ เดินทางไปเที่ยวญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2560 บริหารดีมากค่ะ ใส่ใจลูกค้ามากๆ ให้คำแนะนำดีมากค่ะ คราวหน้าจะมาใช้บริการที่โกลเบิลทัวรื เชียงใหม่อีกแน่ นอนค่ะ ขอบคุณค่ะ
    20-30 มิถุนายน 2560 ญี่ปุ่น โอซาก้า (Osaka) เกียวโต
    คุณเมย์
  • เที่ยวชมหมู่บ้านคินตามณีทานอาหารซีฟู๊ด ณ หาดจิมบารัน​ชมภูเขาไฟและทะเลสาบบาตูร์  ตื่นตาไปกับวิหารเทมภัคศิริงก์ สักการะวัดเม็งวี ที่มีความโดดเด่น​ ชมวิว​เทือกเขาเบดูกัล วัดอุลันดานูโอโห้ไปกับทะเลสาบบราตัน อื้อหือไปกับวิหารทานาล็อ​ท​ ช้อปปิ้งเพลินเพลินย่านคูต้าร์ เซ็นเตอร์ ตลาดปราบเซียน
    Moomai